บราซิล ประเทศที่เคยเติบโตสูง แต่ตอนนี้คนอยากย้ายออก /โดย ลงทุนแมน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล เคยได้รับการจับตามองว่า จะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงประเทศหนึ่งของโลก เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีมานี้ ความหวังนั้นค่อย ๆ ริบหรี่ลงไปเรื่อย ๆ
เศรษฐกิจของบราซิลกลับเติบโตช้าลง จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น
เรื่องนี้ทำให้ชาวบราซิลจำนวนมาก เริ่มสิ้นหวังและตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สมองไหล”
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2000-2011 บราซิลมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว มากกว่า 5% ต่อปี
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในปี 2012 GDP ของบราซิลสูงถึง 86.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของสหราชอาณาจักร
และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ณ เวลานั้น
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนบราซิล เพิ่มขึ้นจากราว 123,600 บาท ในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 426,700 บาท ในปี 2011
จุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของบราซิลนั้นเกิดมา ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ รับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่ในปี 1995 บราซิลได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศของบราซิลนั้นเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าการค้าของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการจ้างงานและการลงทุนต่าง ๆ ภายในประเทศเกิดขึ้นตามไปด้วย
การเปิดประเทศยังช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตในประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลบราซิลในตอนนั้น
ยังได้แสดงเจตจำนงในการชำระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศ
ทำให้ภาระหนี้สินที่บราซิลกู้ยืมจากต่างประเทศ จากเดิมที่ประมาณ 59% ต่อ GDP ในปี 2003 ลดลงจนเหลือ 12% ต่อ GDP ในปี 2009
ภาระหนี้สินที่กู้จากต่างประเทศที่ลดลงจนเหลือสัดส่วนต่ำ ช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลให้โดดเด่นมากในเวลานั้น
จนบราซิลเคยถูกจับตามองว่า เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางด้านเศรษฐกิจ
บราซิล ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีชื่อว่า “BRIC” ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ก่อนที่จะเพิ่มประเทศแอฟริกาใต้เข้ามาอีกในปี 2010 และใช้ชื่อว่า “BRICS” ในปัจจุบัน
แต่ใครจะรู้ว่า นับจากนั้นเศรษฐกิจของบราซิลก็เริ่มประสบปัญหา
GDP ของบราซิล ในปี 2020 ลดลงมาเหลือ 47.6 ล้านล้านบาท จากที่เคยสูงกว่า 86 ล้านล้านบาท ในช่วงพีกคือปี 2011
ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้อดีตประเทศดาวรุ่งอย่างบราซิล กลับต้องเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ปัจจัยก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ สวนทางกับค่าจ้างแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในช่วงปี 2003-2014 ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 68% ในขณะที่อัตราการผลิตต่อคนงานเพิ่มขึ้นเพียง 21%
พูดง่าย ๆ คือ ต้นทุนค่าแรงของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพและผลผลิตนั้นเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามาก ซึ่งการขาดผลิตภาพในการผลิตส่วนสำคัญเกิดมาจากการลงทุนในนวัตกรรมของประเทศที่ต่ำ
- ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
โดยเฉพาะท่าเรือ ถนน หนทาง ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ข้อมูลของ World Bank ระบุว่า ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของบราซิลนั้น ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 56 จาก 160 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ข้อมูลจาก International Trade Administration ของสหรัฐอเมริการะบุว่า การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ภายในบราซิลนั้นใช้รถบรรทุก ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางไม่ค่อยมีความพร้อม ก็ทำให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งที่สูง
- ปัญหาคอร์รัปชันในบราซิล ถือว่ารุนแรงไม่แพ้หลายประเทศในแถบอเมริกาใต้
ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ของประเทศนั้นได้คะแนนน้อยลงเรื่อย ๆ (ยิ่งน้อยลงคือยิ่งภาพลักษณ์ไม่ดีในเรื่องคอร์รัปชัน)
ปี 2012 บราซิลได้ 43 คะแนน และลดลงเหลือเพียง 38 คะแนนในปี 2020
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในบราซิลไม่เพียงแต่ยังคงอยู่ แต่กลับเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
ปัญหาคอร์รัปชัน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอย่างประธานาธิบดี อย่างเช่น ในปี 2015 อดีตประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
โดยเป็นการรับสินบนเพื่อแลกกับ การอนุมัติให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เข้าไปรับงานก่อสร้างจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่อย่างปิโตรบาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ
ปัญหาคอร์รัปชันที่อื้อฉาวของนักการเมือง นักธุรกิจ สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบราซิลจำนวนมาก
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่งชาวบราซิลใน 3 รัฐทางใต้ ที่ไม่พอใจการบริหารและเรื่องคอร์รัปชันของรัฐบาล ร่วมลงคะแนนประชามติเพื่อแสดงความต้องการแยกประเทศ ภายใต้แคมเปน “The South is My Country”
การประท้วง การก่อจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบราซิล
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้บราซิลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว กลับสะดุด จนเหมือนกลายเป็นคนป่วยแห่งทวีปอเมริกาใต้ไปแล้วในตอนนี้
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งมาเจอผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย
ปี 2014 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 6.0 ล้านคน
ปี 2021 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 14.7 ล้านคน
จำนวนผู้ว่างงานสูง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากรู้สึกว่า ตนเองต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข้อมูลจาก Migration Policy Institute (MPI) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีชาวบราซิลอพยพออกนอกประเทศเฉลี่ยปีละกว่า 100,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัญหาความขัดแย้งมากมายในประเทศที่ดูไร้ทางออก
ประเด็นคือ ผู้ที่อพยพออกไป ได้รวมแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Brain Drain” หรือสมองไหล
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศหนึ่งกำลังสูญเสียคนเก่งไปจากประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นต้องการออกไปทำงานและอาศัยในประเทศที่ทำให้พวกเขามีรายได้สูงกว่า สภาพการทำงานที่ดีกว่า
ดังนั้น อนาคตของบราซิลหลังจากนี้ จึงเกิดเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ของคนในประเทศตามมาว่า แล้วประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าจากวันนี้ไปได้อย่างไร ?
คนเก่ง ๆ ที่หมดหวังกับประเทศและอพยพออกไป
ทำให้บราซิลกำลังมีบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
รู้ไหมว่า วันนี้ สัดส่วนนักวิจัยต่อประชากร 1 ล้านคนของบราซิล มีอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น
- จีน 1,071 คน
- รัสเซีย 3,191 คน
- สหราชอาณาจักร 4,269 คน
- สหรัฐอเมริกา 4,663 คน
ตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่า ปัญหาสมองไหลที่บราซิลกำลังเจออยู่นั้น จะรุนแรงมากกว่านี้ในอนาคตหรือไม่
และรัฐบาลจะหาทางหยุดปัญหานี้ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ฝังลึกอยู่ในประเทศได้อย่างไร
แต่เรื่องนี้ ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยควรต้องจับตามอง
ว่าประเทศที่เคยรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยความหวัง
ทุกอย่างก็พังทลายลงได้ หากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/country/BR
-https://en.wikipedia.org/wiki/BRIC
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazil
-https://www.migrationpolicy.org/article/migration-brazil-making-multicultural-society
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_diaspora
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/publication/brazil-how-resume-growth-keep-social-progress
-https://www.trade.gov/knowledge-product/brazil-infrastructure
-https://tradingeconomics.com/brazil/unemployed-persons
-https://www.if.org.uk/2020/07/06/politics-covid-brain-drain-in-brazil/
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/table/bra
-https://www.bbc.com/thai/international-41544397
-http://chartsbin.com/view/1124
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「brain drain คือ」的推薦目錄:
- 關於brain drain คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於brain drain คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於brain drain คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於brain drain คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於brain drain คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於brain drain คือ 在 ภาวะสมองไหล หรือ Brain... - National Geographic Thailand 的評價
- 關於brain drain คือ 在 ส่องปรากฏการณ์ย้ายประเทศ ไทยจะดึงคนเก่ง ได้อย่างไร - YouTube 的評價
brain drain คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
กรณีศึกษา การสมองไหล ครั้งยิ่งใหญ่ ของไนจีเรีย / โดย ลงทุนแมน
ด้วยจำนวนประชากร 210 ล้านคน ไนจีเรียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา
และถูกคาดการณ์ว่าจะมีประชากรเพิ่มเป็น 2 เท่า คือราว 400 ล้านคน ภายในปี 2050
แต่จำนวนแพทย์ที่ลงทะเบียนกับแพทยสภาในประเทศไนจีเรีย มีเพียง 72,000 คน
เมื่อหารด้วยจำนวนประชากรไนจีเรีย 210 ล้านคนแล้ว
จะทำให้แพทย์ 1 คน ต้องรับหน้าที่ดูแลชาวไนจีเรียถึง 2,900 คน
ซึ่งก็เป็นภาระที่หนักเอาการ เมื่อเทียบกับแพทย์ไทย 1 คน ที่รับหน้าที่ดูแลประชากร 1,250 คน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาระที่มีสำหรับแพทย์ไนจีเรียอาจหนักกว่านี้มาก
เพราะราว 50% ของแพทย์ที่ลงทะเบียน หรือราว 36,000 คน
ไม่ได้ทำงานอยู่ในประเทศไนจีเรียอีกต่อไปแล้ว..
เกิดอะไรขึ้นกับระบบสาธารณสุขของประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักประเทศไนจีเรียกันสักนิด..
ไนจีเรียตั้งอยู่ในภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์เป็นอันดับต้น ๆ ของทวีปแอฟริกา
มีพื้นที่ราว 924,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าประเทศไทยเกือบเท่าตัว
ดินแดนแถบนี้เป็นที่ตั้งของหลากหลายชนเผ่ามาตั้งแต่ยุคโบราณ และในยุคล่าอาณานิคมก็ได้ดึงดูดให้มหาอำนาจอย่างอังกฤษเข้ามายึดครอง
ไนจีเรียกลายเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะการค้าทาส และยังมีสินค้าส่งออกหลัก คือ ปาล์มน้ำมัน และงาช้าง
อังกฤษเข้ามาครอบครองไนจีเรีย จนถึงปี 1960
และภายหลังได้รับเอกราช การค้นพบแหล่งน้ำมันดิบบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์ ทำให้น้ำมันดิบกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไนจีเรีย และทำให้ไนจีเรียมีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก
นอกจากน้ำมันแล้ว ไนจีเรียยังมีทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อีก เช่น ก๊าซธรรมชาติ, ดีบุก, แร่เหล็ก, ถ่านหิน รวมไปถึงป่าไม้ และสัตว์ทะเล
ถึงแม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่เศรษฐกิจของไนจีเรียกลับยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งของประชากรในประเทศ ที่นำมาสู่ความไม่สงบทางการเมืองและสงครามกลางเมืองหลายต่อหลายครั้ง สาธารณูปโภคของไนจีเรียจึงยังคงล้าหลัง และโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับการพัฒนา
ประชากรทางตอนเหนือของไนจีเรีย ได้รับอิทธิพลจากชาวอาหรับในประเทศแถบแอฟริกาเหนือ ทำให้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 50% ของประชากรทั้งประเทศ
ส่วนทางตอนใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเลกอส เมืองใหญ่ที่สุด ด้วยอิทธิพลของอดีตเจ้าอาณานิคม ประชากรส่วนใหญ่จึงนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 50% ของประชากรทั้งประเทศ
ถึงแม้จะมีศรัทธาที่แตกต่างกันจนนำมาสู่ความไม่สงบหลายครั้ง
แต่สิ่งที่คล้ายคลึงกันก็คือ ชาวไนจีเรียมองการคุมกำเนิดเป็นสิ่งต้องห้าม
ความอุดมสมบูรณ์ทำให้ไนจีเรียมีประชากรมากอยู่แล้ว และการไม่สนับสนุนการคุมกำเนิดก็ทำให้ประชากรยิ่งเติบโตมากขึ้นไปอีก
อัตราการเติบโตของประชากรไนจีเรียสูงถึงร้อยละ 2.5 ต่อปี
ผลที่ได้ ไนจีเรียจึงเป็นประเทศที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอันดับต้น ๆ ของโลก
ปี 2000 ไนจีเรียมีประชากร 120 ล้านคน
ปี 2020 ไนจีเรียมีประชากร 220 ล้านคน
ปี 2050 ไนจีเรียถูกคาดว่าจะมีประชากร 400 ล้านคน ซึ่งจะมากเป็นอันดับ 3 ของโลก
การที่ประชากรเพิ่มขึ้นมาก แต่เศรษฐกิจยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ทำให้ประเทศนี้มีอัตราว่างงานสูง ซึ่งส่งผลให้ค่าแรงขั้นต่ำของไนจีเรียอยู่ในระดับต่ำ
ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำของไนจีเรีย อยู่ที่เพียง 30,000 ไนรา เทียบเท่ากับ 2,500 บาทต่อเดือนเท่านั้น
ค่าแรงขั้นต่ำของไนจีเรียสะท้อนในทุกสาขาวิชาชีพ ไม่เว้นแม้แต่บุคลากรวิชาชีพอย่างแพทย์
ที่มีค่าแรงเพียง 200,000 ไนรา หรือประมาณ 15,000 บาทต่อเดือน
ด้วยค่าแรงที่ต่ำ ภาระงานที่หนัก ความไม่ปลอดภัยในชีวิต และการขาดแคลนสาธารณูปโภค
ผลักดันให้แพทย์ชาวไนจีเรียเดินทางไปทำงานยังต่างประเทศเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
ความที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาราชการของไนจีเรีย
แพทย์ชาวไนจีเรียล้วนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
สำหรับแพทย์ที่เป็นชาวคริสต์ จุดหมายปลายทางหลักคือประเทศร่ำรวยในยุโรป และอเมริกาเหนือ
เฉพาะสหราชอาณาจักรเพียงประเทศเดียว
ก็มีแพทย์ชาวไนจีเรียอยู่ถึง 7,875 คน
คิดเป็นสัดส่วนราว 11% ของแพทย์ทั้งหมดที่ลงทะเบียนกับแพทยสภาไนจีเรีย
ภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ จุดหมายสำคัญสำหรับแพทย์ที่เป็นชาวมุสลิม
โดยเฉพาะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดีอาระเบีย
ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขของซาอุดีอาระเบีย จะมีการจัดสอบคัดเลือกแพทย์ไนจีเรีย
เป็นประจำทุกปีที่กรุงอาบูจา เมืองหลวงของไนจีเรีย
ภาวะสมองไหลนี้ ทำให้แพทย์ที่ยังทำงานอยู่ในไนจีเรียต้องรับภาระหนักมากขึ้น
จากเดิมที่แพทย์ 1 คน ต้องดูแลประชากร 2,900 คน แต่เมื่อแพทย์เหลือเพียงครึ่งเดียว
แพทย์ 1 คน อาจต้องดูแลประชากรถึง 6,000 คน
ซึ่งสัดส่วนนี้มากกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมขององค์การอนามัยโลกถึง 10 เท่า..
อดีตนายกแพทยสภาของไนจีเรีย ศาสตราจารย์ Dominic Osaghae
ได้กล่าวว่า โรงเรียนแพทย์ของไนจีเรีย กำลังผลิตแพทย์เพื่อส่งออก
เพราะในแต่ละปี ไนจีเรียผลิตแพทย์ 3,000 คน โดยมีราว 2,000 คน จะอพยพไปทำงานยังต่างประเทศ
สถานการณ์เหล่านี้อาจจะยิ่งเลวร้ายกว่าเดิม เมื่อสหราชอาณาจักรมีการปรับนโยบายในการออกวีซ่าสำหรับบุคลากรวิชาชีพ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์จากต่างประเทศ สามารถอพยพเข้ามาอยู่ได้เร็วขึ้น และสะดวกขึ้นกว่าเดิม
ภาวะสมองไหลเป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา
เมื่อแรงงานที่มีทักษะ มีความรู้ความสามารถ ต่างอพยพไปทำงานในประเทศที่ร่ำรวยกว่า
เพื่อชีวิตที่ดี มีรายได้มากขึ้น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และมีเสรีภาพมากกว่าเดิม
ซึ่งส่วนมากมักตั้งต้นชีวิตใหม่ และกลายเป็นพลเมืองของประเทศเหล่านั้นไปเลย
นั่นเท่ากับว่า ประเทศร่ำรวยจะมีบุคลากรคุณภาพเข้ามาเติมเต็ม และพัฒนาให้ประเทศเติบโตต่อไป
ส่วนประเทศกำลังพัฒนา ก็จะสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีค่ามากไปเรื่อย ๆ ถ้าทำให้ประเทศของตัวเองมีเศรษฐกิจที่ไม่ดีพอ
ก็เป็นที่น่าติดตามว่า สถานการณ์ในไนจีเรียจะเป็นอย่างไรต่อไป
เมื่อแพทย์ที่มีอยู่น้อยลง ต้องรับภาระประชากรที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.aljazeera.com/features/2019/4/8/nigerias-medical-brain-drain-healthcare-woes-as-doctors-flee
-https://tribuneonlineng.com/nigerias-medical-schools-now-produce-doctors-for-export-ex-nma-president/
-http://saharareporters.com/2020/07/24/number-nigerian-doctors-united-kingdom-rises-7875
-https://www.statista.com/statistics/1119133/monthly-minimum-wage-in-nigeria/
-http://www.financialnigeria.com/the-real-costs-and-solutions-for-the-migration-of-nigerian-doctors-blog-564.html
-https://www.researchgate.net/profile/Oluwole-Ojewale/publication/328757562_One_in_three_Nigerians_have_considered_emigration_most_to_find_economic_opportunity/links/5be0ea584585150b2ba1f364/One-in-three-Nigerians-have-considered-emigration-most-to-find-economic-opportunity.pdf?origin=publication_detail
-https://toi.boi.go.th/information/download/535
brain drain คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
brain drain คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
brain drain คือ 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
brain drain คือ 在 ส่องปรากฏการณ์ย้ายประเทศ ไทยจะดึงคนเก่ง ได้อย่างไร - YouTube 的美食出口停車場
ภาวะสมองไหล ( Brain Drain ) เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก คนเก่ง มีความสามารถต่างโยกย้ายไปทำงาน ไปอยู่อาศัยประเทศอื่นเพื่อแสวงหาโอกาสในชีวิตที่ดี ... ... <看更多>
brain drain คือ 在 ภาวะสมองไหล หรือ Brain... - National Geographic Thailand 的美食出口停車場
ภาวะสมองไหล หรือ Brain Drain เป็นปรากฏการณ์ที่กลุ่มบุคคลที่มีความสามารถ และทักษะเฉพาะด้านในระดับสูง อพยพออกจากประเทศบ้านเกิดเพื่อแสวงหาโอกาสทางวิชาชีพ ... ... <看更多>